วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

EDJ

EDI (Electronic Data Interchange) 

                  คือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการรับส่งเอกสารธุรกิจระหว่างหน่วยงานตั้งแต่หน่วยงานขึ้นไปที่มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ สัญญาณดาวเทียม เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้สื่อ หรือรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเอกสารธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า บัญชีราคาสินค้า ใบส่งของ รายงาน ฯลฯ ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดไว้
            การรับ/ส่งเอกสารข้อมูลดังกล่าว จะถูกกระทำภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คู่แข่งทางการค้าสามารถดึงข้อมูลของตนเองไปใช้ได้ ซึ่งหากมีการใช้ EDI ในกิจกรรม ต่าง ๆ อย่างครบวงจรแล้ว จะช่วยให้ไม่ต้องอาศัยเอกสารต้นฉบับที่ต้องตรวจสอบ โดยพนังงานหรือป้อนข้อมูลซ้ำอีก ซึ่งสามารถสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอน การทำธุรกิจที่ต้องใช้เอกสารเป็นพื้นฐาน ไปสู่การทำธุรกิจภายใต้สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษอีกต่อไป
            ในการทำงานตามขั้นตอนของระบบ EDI นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ จะต้องมีส่วนการสื่อสารเป็นระบบเปิด คือเป็นระบบซึ่งใช้ฮาร์ดแวร์ (Hardware)และซอฟแวร์ (Software) ที่ไม่ปิดกั้นการติดต่อจากโลกภายนอก โดยการใช้มาตรฐานที่เป็นสากล เช่น UN/EDIFACT , IEEE , ACM , ISO เป็นต้น ซึ่งได้กำหนด และวางกฎเกณฑ์ของการส่งผ่าน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อ และรับ/ส่งข้อมูลกันได้โดยไม่จำกัดยี่ห้อของอุปกรณ์

การแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจในระบบอีดีไอ มีขั้นตอนการทำงานระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งกับเครื่อคอมพิวเตอร์ของผู้รับ ดังนี้
             1. ผู้ส่งเอกสารอีดีไอ (Sending System)
                - เริ่มต้นผู้ส่งต้องมีโปรแกรม (In House Application)สำหรับบันทึกข้อมูลของเอกสารต่าง ๆ เช่น invoice ใบขนสินค้า เป็นต้น โปรแกรมนี้ผู้ส่งอาจจะพัฒนาเองหรือซื้อที่เขาพัฒนาเสร็จแล้วก็ได้
                ผู้ส่งบันทึกรายละเอียดของเอกสารต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
                ผู้ส่งตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ของข้อมูลที่บันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกครั้งก่อนที่จะส่งไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ
                ผู้ส่งสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนส่งข้อมูลไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ของผู้รับเมื่อได้รับคำสั่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งก็จะทำการคัดแยกข้อมูล ที่ต้องการส่ง (Extracted Data) จากฐานข้อมูล (DB file) ให้อยู่ในรูปที่พร้อมจะถูกแปลงเป็นเอกสารอีดีไอ
                - ซอฟแวร์อีดีไอ (Translation Software) จะทำการแปลงข้อมูลที่ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของเอกสารอีดีไอหรือที่เรียกว่า เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น EDIFACT Format
                - จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูล (Communication Protocol เช่น VAN Protocolหรืออื่น ๆ) ที่จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการอีดีไอ
            2. ผู้ให้บริการอีดีไอ (VANS: Value added Network System)
          เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการอีดีไอจะดำเนินการดังต่อไปนี้
               ตรวจสอบสิทธิการใช้บริการอีดีไอของผู้ส่ง เช่น ตรวจสอบรหัสผ่าน เป็นต้น 
               เมื่อได้รับข้อมูลจากผู้ส่งแล้วทำการแปลงข้อมูลจากมาตรฐาตหนึ่ง ไปเป็นอีกมาตรฐานหนึ่งในกรณีที่ผู้ส่ง และผู้รับใช้มาตรฐานอีดีไอแตกต่าง (Optional)
               - ตรวจสอบข้อมูลว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ (Optional)
               - นำเอกสารอีดีไอที่ได้รับจากผู้ส่ง ไปเก็บไว้ในMailbox (ตู้ไปรษณีย์) ของผู้รับ
            3. ผู้รับเอกสารอีดีไอ (Receiving System)
         เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับจะดำเนินการดังต่อไปนี้
               ผู้รับติดต่อมายังเครื่องของผู้ให้บริการอีดีไอผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เพื่อรับเอกสารที่อยู่ใน Mailboxของตน
               อ่านเอกสารอีดีไอ (ในรูป ของ EDIFACT Format)จาก Mailbox ของตน และส่งข้อความตอบรับแจ้งให้ผู้ส่งทราบว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
               ซอฟแวร์อีดีไอ (Translation Software) จะทำการแปลงเอกสารอีดีไอให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับเอาไปใช้งานภายในองค์กรได้
               เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับจะนำข้อมูลที่ผ่านการแปลงเรียบร้อยแล้ว (Deformated data) มาทำการประมวลผล และจัดเก็บลงในฐานข้อมูล (DB file)

              ประโยชน์โดยทั่วไปของระบบ EDI 
           ปัจจุบันได้มีการนำระบบ EDI มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถให้ประโยชน์สูงในการแข่งขันทางธุรกิจ ประโยชน์โดยทั่วไปของ EDI สามารถแบ่งได้เป็น ระดับ คือ

          1. ประโยชน์ทางตรง   ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับจัดการเอกสาร EDI ทำให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเอกสาร ซึ่งเกิดขึ้นในระบบการค้าแบบเดิมที่ ทำการติดต่อกันด้วยเอกสารได้ ค่าใช้จ่ายส่วนที่ลดได้ อาทิ
                  ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับเอกสาร และพนักงานในกระบวนการรับเอกสาร การจับคู่เอกสาร การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร การคัดลอกเอกสาร การประมวลผล การออกเอกสารต่อเนื่อง การจัดเก็บเอกสาร และการส่งเอกสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
                  ค่าใช้จ่ายสำหรับความผิดพาดที่เกิดขึ้นในระบบเอกสาร เช่น ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากก ารสูญหายของเอกสารระหว่างการเดินทาง และจากความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลจากเอกสารต้นฉบับ
                  ค่าใช้จ่ายสำหรับเวลาที่ใช้ในกระบวนการส่งข้อมูลด้วยเอกสาร เช่น เวลาที่ต้องรอในแต่ละขั้นของการทำงาน ในขบวนการจัดการเอกสาร และเวลาที่ใช้ในการส่งเอกสารระหว่างองค์กร

          2. ประโยชน์ทางอ้อม   เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ อันเกิดจากความถูกต้องของข้อมูลจากการใช้ EDIรวมทั้งวงจรธุรกิจที่สั้นลง สำหรับทุกขบวนการทางธุรกิจตั้งแต่การซื้อ การขาย จนกระทั่งถึงการรับเงินและจ่ายเงิน จะทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ ในส่วนต่าง ๆ เช่น
                  ลดจำนวนสินค้าคงคลัง
                  กระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ และสนับสนุนการใช้ระบบ JUST IN TIME
                  - พัฒนาบริการลูกค้า
                  พัฒนาการใช้เงินทุนหมุนเวียน
                  พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร และเพิ่มประโยชน์จากการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน

          3. ประโยชน์ทางกลยุทธ์   เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการบรรลุถึงเป้าหมายองค์กร 
              ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการทางธุรกิจ จากการใช้ EDI สามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการสนับสนุนให้เกิดผลตามเป้าหมายขององค์กร ที่วางไว้ได้ เช่น การสร้างพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ การเข้าสู่ตลาดใหม่ การออกผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ การเป็นผู้นำในตลาด และความอยู่รอดขององค์กร 
             
         นอกจากนี้หากเปรียบกับองค์กรที่เป็นเหมือนตัวเชื่อมเพื่อการส่งออกและนำเข้าอย่างศุลกากรแล้วประโยชน์ที่ได้รับของการนำระบบ EDI มาใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร  มีดังนี้
         ช่วยลดระยะเวลาในการเดินพิธีการศุลกากร เช่น ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการออกเลขที่ใบขนสินค้า หรือเลขที่ยกเว้นอากร เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะออกเลขที่ใบขนสินค้า หรือเลขที่ยกเว้นอากรให้
         ช่วยลดความผิดพลาดในการคำนวณค่าภาษีอากร เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ตรวจสอบการคำนวณแล้ว
         กรณีใบขนสินค้าขาเข้า เจ้าหน้าที่ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าทั้งฉบับ จะบันทึกข้อมูลบางไฟส์เท่านั้น เพราะใบขนสินค้าได้ถูกส่งมายังกรมศุลกากรในระบบ EDI แล้ว
         กรณีใบขนสินค้าขาออก จะลดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบลง
         มีระบบข้อมูลที่ Update ตลอดเวลา
         ลดต้นทุนในการบริหารระบบคงคลังสินค้า
         กรมศุลกากรสามารถให้บริการระบบ EDI ได้ตลอด 24ชั่วโมง
         ระบบ EDI จะมีบริการให้ผู้ส่งออกสอบถามข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ของกรมศุลกากรได้อัตโนมัติ เพื่อตรวจเช็คสินค้าที่นำเข้า และส่งออกว่าได้รับอนุมัติหรือยัง  
       
                  ข้อแตกต่างระหว่างพิธีการแบบ Manual (ดั้งเดิม) กับ แบบ EDI

พิธีการแบบ Manual
พิธีการแบบ EDI
ตัวแทนออกของรับข้อมูลInvoice และ
เอกสารประกอบอื่น ๆ จากผู้นำเข้า/ส่งออก
เพื่อจัดทำใบขนสินค้า
ตัวแทนออกของรับข้อมูลInvoice และ
เอกสารประกอบอื่น ๆ จากผู้นำเข้า/ส่ง
ออกเพื่อจัดทำใบขนสินค้า โดยป้อมข้อมูล
ลงในคอมพิวเตอร์ของตนเอง หรือใช้
บริการ Service Counter
ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าหน้าที่พิธีการ ตรวจสอบ
บัตรตัวอย่างลายมือชื่อเจ้าของหรือผู้จัดการ
หรือผู้รับมอบอำนาจ ออกเลขที่ใบขนสินค้า
ตรวจสอบเอกสาร และลงนามรับรอง
ส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ของกรมศุลกากร โดยผ่าน
ผู้ให้บริการ EDI (VAN)คอมพิวเตอร์
ของกรมศุลกากร จะตรวจสอบข้อมูล
เบื้องต้น เช่น เลขประจำตัวผู้นำเข้า/
ส่งออก ชื่อเรือ เที่ยวเรือ โดยจะออก
เลขที่ใบขนสินค้าให้
เจ้าหน้าที่ประเมินอากร ตรวจสอบพิกัด
อัตราอากรประเมินอากร คำนวณ และ
สั่งการตรวจ
การตรวจสอบพิกัดอัตรา และประเมิน
อากรกระทำโดยตัวแทนออกของ ก่อนส่ง
ข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของ
กรมศุลกากร
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และชำระ
อากรหรือเงินประกัน ณ ที่ทำการศุลกากร
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการแล้ว ไป
ชำระอากรหรือเงินประกัน ณ ที่ทำการ
ศุลกากร หรือชำระเงินด้วยระบบ EFT
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และชำระอากร
หรือเงินประกันแล้วไปที่คลังสินค้า ให้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรกำหนดชื่อ เจ้าหน้าที่
ผู้ตรวจปล่อยสินค้า
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และ
ชำระอากรหรือเงินประกันแล้วไปที่
คลังสินค้า ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรกำหนด
ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสินค้า ด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ
เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำการตรวจปล่อย
สินค้าตามปกติ
เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำการตรวจปล่อย
สินค้าตามปกติ หรือส่งมอบสินค้า หรือ
สลักรายการรับบรรทุก กรณีผู้นำเข้า/
ส่งออก เป็นระดับบัตรทอง(Gold Card)
      

2 ความคิดเห็น: